Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
กรดไหลย้อน คืออะไร
กรดไหลย้อน คืออะไร
กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว
กรดไหลย้อน อาการและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?
อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ กลืนลำบาก, กลืนแล้วเจ็บ, เรอบ่อย, ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน, เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจ, เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืด
โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอก และหรือเรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการ ที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือดหรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัย ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้ การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมี ความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัว ของหลอดอาหาร และการตรวจวัด ความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่ง พบว่าได้ผลแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
- มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
- ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
- คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
- เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
- หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
- เจ็บคอเรื้อรัง
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
- ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
- ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
- พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
- ภาวะความเครียด โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า
อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน
- รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
- ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
- ดื่มสุรา น้ำอัดลม
- สูบบุหรี่
- ผู้หญิงตั้งครรภ์
- มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
- รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”
โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
- รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป
โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง
กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม โดยเฉพาะอาหารการกินที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาหารเหล่านี้คืออาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง
1. อาหารไขมันสูง
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรงดอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ๆ อาหารมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้
2. อาหารที่มีแก๊สมาก
ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น
3. น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่มีกรดมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนไม่ควรเติมน้ำส้มสายชูลงในอาหาร เพราะจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นไปอีก
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
5. ผลไม้ที่มีกรดมาก
ผลไม้ที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนห้ามกินหรือควรเลี่ยงไว้เป็นดี คือกลุ่มผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะเขือเทศ สับปะรด หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจัด รวมไปถึงซอสมะเขือเทศก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน
6. ผักที่มีกรดแก๊สมาก
อย่างเช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ รวมทั้งผักดิบทุกชนิดก็ควรเลี่ยง เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก
7. อาหารหมักดอง
อาหารหมักดองอย่าง ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้
8. อาหารเสริมที่มีไขมันสูง
แม้แต่อาหารเสริมบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอาหารเสริมจำพวกน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม วิตามินอี หรือวิตามินซีก็เสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะได้เช่นกัน
9. หมากฝรั่ง
การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น เท่ากับว่าได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ
การมีวินัย ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ไม่เพียงป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร
ที่มา
- https://www.sikarin.com/health/
- https://www.phyathai.com/
- https://www.pptvhd36.com/news/
- https://www.pobpad.com/
ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ impeccabletext.com
สนับสนุนโดย ufabet369
Economy
-
หนี้ครัวเรือน : ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ
สถานการณ์ หนี้ครัวเรือน ของไทยยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นจุดเปราะบางสำคัญของระบบเศรษฐกิจการเงินและสังคมไทย และยังคงเป็นประเด็นที่ต้องกล่าวย้ำกัน โดยเฉพาะในช่วงบรรยากาศการเลือกตั้ง ที่จะมีการนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจจากพรรคการเมืองต่าง ๆ การกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็นและคาดหวังนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว
มุ่งเน้นการพัฒนา แต่ปัญหา หนี้ครัวเรือน ไทยยังรุมเร้า
ปัญหาหนี้ครัวเรือนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างรอบด้าน โดยต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน จากการทบทวนนโยบาย มาตรการ รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการจากหน่วยงานทั้งจากภาครัฐโดยตรง จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินของรัฐ และสถาบันการเงินของรัฐ รวมถึงการศึกษาจากผลการสำรวจโดยผู้เขียน พบว่า มีนโยบายและมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการออม การออมเพื่อวัยเกษียณ การให้ความรู้ทางการเงิน การลงทุน การวางแผนการเงิน การบริหารความเสี่ยงผ่านเครื่องมือประกันภัย ฯลฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ อยู่หลายแหล่ง และแม้ว่าจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ในระดับประเทศ แต่ยังพบว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังประสบปัญหาที่สะท้อนถึงความไม่พอเพียงในดำเนินชีวิต และนำไปสู่การเป็นหนี้ ได้แก่
1)ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย นำสู่ภาระหนี้สินของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอาจพิจารณาสาเหตุของปัญหาจาก 2 ด้าน ได้แก่ หนึ่ง สาเหตุจากตัวบุคคลเอง เช่น ขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ ทำให้ขาดการวางแผนและการจัดการที่ดี ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันต่ำส่งผลให้รายได้น้อย หรือจากทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงินของบุคคลนั้น ๆ ที่มีต่อการบริโภคนิยมก่อรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และ สอง สาเหตุนอกตัวบุคคล อันเกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายการบริหารของประเทศที่กระจุกตัวสูง สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างแท้จริง เห็นได้จากยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหรือภาคตัวเมืองมากกว่า ทำให้เกิดความแตกต่างทางรายได้ระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท หรือแม้แต่การกระจุกตัวของการพัฒนาในกรุงเทพมหานครมากกว่าในภูมิภาค
2)ผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการทางการเงินที่ครอบคลุมได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนดทำให้ขาดแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ รวมถึงบริการทางการเงินอื่น แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐจะสนับสนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กองทุนหมู่บ้านสถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่อาจยังไม่ครอบคลุมนัก โดยเฉพาะบริการทางการเงินที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือด้อยโอกาส
การแก้ปัญหา หนี้ครัวเรือน ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ
นโยบายที่สอดรับกับทุกระยะของการเกิดหนี้สินครัวเรือน
สถานการณ์หนี้สินระดับบุคคลมีความแตกต่างกันในทุกมิติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสภาพหนี้ครัวเรือนได้ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ครอบคลุมระบบสินเชื่อของประเทศ การกำหนดนโยบายที่ดี ควรคำนึงถึงความสมดุลของทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสินเชื่อ และเสถียรภาพทางการเงินของครัวเรือนไทย โดยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนควรครอบคลุมคนทุกกลุ่มทั่วประเทศ และเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาในทุกระยะของการก่อหนี้ ตั้งแต่ก่อนครัวเรือนจะมีหนี้ เมื่อมีหนี้ และเมื่อติดอยู่ในวงจรหนี้
นโยบายสำหรับภาวะก่อนครัวเรือนจะเป็นหนี้ ได้แก่
(1)นโยบายส่งเสริมทักษะทางการเงิน สร้างวินัยทางการเงิน ปลูกฝังจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการออม การมีภูมิคุ้มกันทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นและความเสี่ยงในการก่อหนี้ให้แก่ประชาชนทั่วไปได้มีหลักคิดในการตัดสินใจที่ถูกต้องก่อนการเข้าสู่ภาวะการเป็นหนี้ ประเด็นท้าทายในเรื่องนี้ คือ การวางกรอบเนื้อหา วิธีการสอน สื่อสาร และการใช้สื่อให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในการกลุ่มคนรุ่นใหม่ และเป็นขับเคลื่อนเชิงรุกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม
(2)นโยบายที่จะส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อและบริการทางการเงินที่จำเป็น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพทุกกลุ่ม และการใช้แนวทางทางเลือกในการประเมินศักยภาพของผู้กู้ ตัวอย่าง เช่น กลุ่มผู้สูงอายุอาจพิจารณาการให้สินเชื่อที่อยู่ในรูปแบบสินเชื่อสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) ซึ่งธนาคารให้กู้ยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นรายเดือนแก่ผู้กู้ตลอดอายุขัยของผู้กู้และได้ทรัพย์สินของผู้กู้เป็นหลักประกันเงินกู้ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย อาจพิจารณาสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจที่ประเมินความสามารถของผู้กู้ตามรูปแบบรายได้ของผู้กู้หรือใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) เช่น การชำระสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์มือถือ รวมถึงประวัติทางพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานในโลกอินเทอร์เน็ต (Digital footprint) ในการประเมินความสามารถในการกู้ยืม เป็นต้น โดยเป้าหมายหลักของนโยบาย คือ ช่วยปิดช่องว่างสำหรับประชากรที่ยังไม่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ให้สามารถเข้าถึงและรับบริการทางการเงินจากสถาบันการเงินในระบบได้
นโยบายสำหรับเมื่อครัวเรือนเป็นหนี้ ได้แก่
(1)นโยบายเพื่อออกเกณฑ์กำกับควบคุม ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของครัวเรือน ตัวอย่างเช่น การออกเกณฑ์ Loan to Value หรือ LTV ที่เป็นอัตราส่วนการให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน การกำหนดเงื่อนไขในการเข้าถึงสินเชื่อบุคคล การผ่อนชำระค่าสินค้าและบริการ การผ่อนเงินงวดรายเดือน การประเมินฐานะทางการเงิน เป็นต้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำกับควบคุมที่ออกมานั้น ควรมีการศึกษาผลกระทบของหลักเกณฑ์อย่างรอบคอบ และประเมินเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและผลที่คาดว่าจะได้รับจากหลักเกณฑ์อย่างระมัดระวัง เพื่อมิให้หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นหรือเข้มงวดจนเกินไป ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่ละเอียด มีความครอบคลุมและสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ได้เพื่อความเข้าใจในทุกมิติ รวมถึงการศึกษาผลกระทบอย่างเป็นพลวัต โดยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยในการศึกษา เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
(2) การพัฒนาร่วมมือกับสถาบันการเงินให้เกิดการกู้ยืมอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) เพื่อลดความรุนแรงในการแข่งขันของธุรกิจสินเชื่อ ทำให้ขาดความระมัดระวังในปล่อยเงินกู้ สร้างจูงใจที่ไม่เหมาะสมกระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น นอกจากนั้น อาจรวมถึงการกำหนดแนวทางให้สถาบันการเงินพิจารณาผ่อนคลายมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่ออย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับประชาชนได้ง่ายขึ้น
(3)นโยบายที่จะเร่งสร้างวินัยทางการเงินให้กับครัวเรือนที่มีหนี้อย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางการเงินให้เกิดความเข้าใจเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงิน ตระหนักถึงความสำคัญของการหลุดพ้นจากภาวะหนี้ได้โดยเร็วเป็นเรื่องจำเป็น แม้ว่าการสร้างวินัยทางการเงินให้กับคนกลุ่มที่เป็นหนี้อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยอาจใช้แรงกระตุ้นจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับจากพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น การชำระหนี้ตรงเวลา การเร่งชำระเงินต้นเพื่อลดภาระดอกเบี้ย และโทษที่จะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น การใช้จ่ายเกินตัว ไม่เก็บออม และไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเป็นระบบ (Nudge Concept)
นโยบายสำหรับการจัดการปัญหาเมือครัวเรือนติดอยู่ในวงจรหนี้ นโยบายในการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ติดอยู่ในวงจรหนี้สามารถหลุดพ้นได้อย่างยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยสถาบันการเงินโครงการคลินิกแก้หนี้ เป็นตัวอย่างแนวทางเพื่อการจัดการในภาวะนี้ อย่างไรก็ดี ควรเน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยทางการเงินให้ครัวเรือนกลุ่มนี้ควบคู่ไปด้วย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยติดตามไม่ให้คนกลุ่มนี้กลับไปอยู่ในวงจรหนี้ดังเช่นเดิมได้อีก
ความรู้ทางการเงินเป็นฐานรากสำคัญในการตัดสินใจกู้ยืม
นอกจากการมีนโยบายที่ดูแลในแต่ละช่วงของการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนดังกล่าวข้างต้นแล้ว การให้ความสำคัญกับความรู้ทางด้านการเงินก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก เพราะความรู้ด้านการเงินจะทำให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน สามารถประเมินศักยภาพของตนเองต่อการสร้างหนี้ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ทั้งความสามารถในการชำระหนี้ วิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ย ตลอดจนแนวทางที่เป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชยกับรายจ่าย ทั้งนี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ควรเร่งให้ความรู้ทางการเงินกับประชาชนทุกระดับ เนื่องจากการส่งเสริมความรู้ทางด้านการเงินจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงินของประชาชนได้ นำไปสู่การวิเคราะห์ถึงสิ่งที่จำเป็นที่ควรใช้จ่ายเงิน และนำไปสู่วินัยทางการเงินระดับบุคคล
ที่ผ่านมามีการพัฒนาความรู้ทางการเงินมีการสนับสนุนจากหลายแหล่งความรู้ และสามารถยกระดับทักษะทางการเงินของคนไทยได้ระดับหนึ่ง พิจารณาจากข้อมูลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2563 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ภาพรวมคนไทยมีพัฒนาการระดับทักษะทางการเงินดีขึ้นอยู่ที่ ร้อยละ 71.0 ซึ่งสูงขึ้นกว่าการสำรวจครั้งก่อนในปี 2561 (ร้อยละ 66.2) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยการสำรวจทักษะทางการเงินครั้งล่าสุดของ OECD ในปี 2563 (ร้อยละ 60.5) โดยพิจารณาองค์ประกอบของทักษะทางการเงินทั้ง 3 ด้าน พบว่า คนไทยมีพัฒนาการดีขึ้นในทุกด้านทั้งด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงิน แต่ทั้งนี้ยังคงต้องพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ความรู้และทักษะทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะท้อนพฤติกรรรมและทัศนคติทางการเงินอย่างถูกต้อง เสริมความเข้มแข็งต่อระบบการเงินของไทยได้อย่างยั่งยืน บทเรียนที่ผ่านมาอาจเห็นได้ว่าการให้ความรู้ทางการเงินยังมีลักษณะแยกส่วน ขาดการบูรณาการ และยังเป็นไม่เจาะจงให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การพัฒนาความรู้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก การให้ความรู้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและระดับการศึกษาไม่สูงต้องเร่งดำเนินการให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้
การสนับสนุนสินเชื่อและวางแผนธุรกิจอย่างครบวงจร
นโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดการให้สินเชื่อพร้อมการให้คำปรึกษาในการวางแผนทางธุรกิจแบบครบวงจร จะช่วยประชาชน/ผู้ที่ต้องการทุนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคตได้ เช่น การบริหารบัญชี การวางแผนรายรับ-รายจ่าย แผนเกษียณอายุ แผนภาษี การให้ข้อมูลด้านการตลาด การผลิต และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เหมาะสม ซึ่งที่ปรึกษาทางด้านการเงินจะเข้ามามีบทบาทในการ่วมวางแผนธุรกิจให้มีการเชื่อมโยงอย่างครบวงจรทั้งกระบวนการผลิต ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการจับคู่ความต้องการของกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุน (Business Matching) นอกจากนั้น สถาบันการเงินอาจเข้ามามีบทบาทในเงินทุนในฐานะผู้ร่วมทุน (Venture Capital) ซึ่งจะทำให้เกิดการช่วยเหลืออย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจในระดับฐานราก
นโยบายหรือมาตรการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยให้เศรษฐกิจในระดับฐานรากเป็นตัวขับเคลื่อน เนื่องจากเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าสถาบันการเงินในระบบ อย่างไรก็ดี ระบบเศรษฐกิจฐานรากที่จะมีความเข้มแข็งนั้นต้องมีการรวมกลุ่มการทำงาน เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับภายนอก และควรมีการจัดการระบบการเงินของชุมชนอย่างบูรณาการร่วมกับกองทุนอื่น ๆ ภายใต้กลไก กฎ กติกาการอยู่ร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันแหล่งเงินทุนฐานรากส่วนใหญ่มาจากการรวมตัวกันทั้งจากการจัดตั้งโดยภาครัฐหรือจากกลุ่มประชาชนจัดตั้ง เช่น กองทุนหมู่บ้านฯ กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น การเข้ามาของภาครัฐด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงให้แก่กลุ่มด้วยการออกกฎหมายสนับสนุน เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุน/เงินออมของกลุ่มประชาชนฐานราก จะช่วยให้กลุ่มดังกล่าวมีการเรียนรู้ในการบริหารจัดการเงิน สร้างดอกผลให้งอกเงย รวมถึงอาจเป็นกลไกในการสนับสนุนให้ครัวเรือนมีรายได้หลากหลาย ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้แหล่งเดียวและสามารถมีรายได้ที่มั่นคงเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัวและการชำระหนี้ในอนาคต
นโยบายที่จะจัดการกับปัญหาหนี้ครัวเรือน ไม่ใช่เพียงแค่การพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย การกำหนดนโยบายที่ครอบคลุมทุกมิติอย่างเป็นระบบ จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยสู่ความยั่งยืนได้ คงต้องคาดหวังการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจากรัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน และความร่วมแรงร่วมใจในการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนต่อไป
ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ การสร้างสรรค์นวัตกรรม
กรุงศรีออโต้ เผยลูกค้าขอสินเชื่อผ่านดิจิทัล
Everything You Wanted to Know About mega city’s
Working Together to Make Investments
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://impeccabletext.com/
สนับสนุนโดย ufabet369
ที่มา econ.nida.ac.th
Latest News
รีวิว Stalingrad – ผลงานภาพยนตร์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย
รีวิว Stalingrad เป็นภาพย...
วงเงินสูงสุด ฟรีสปิน ไขข้อข้องใจในการเดิมพันคาสิโนออนไลน์
ไขข้อข้องใจ วงเงินสูงสุด ...